วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การตรงต่อเวลา



 แนวความคิดเกี่ยวกับเวลา   

            เป็นแนวคิดประเมินตามเกณฑ์ตามความสำคัญ-ไม่สำคัญ, เร่งด่วน-ไม่เร่งด่วน โดยวาดตารางแบ่งออกเป็นช่อง

ต่างๆ โดยลดการมุ่งเน้นงานที่ไม่สำคัญและไม่เร่งด่วนลง และมุ่งเน้นไปยังงานที่สำคัญและเร่งด่วนที่สำคัญ งานไม่

สำคัญแต่เร่งด่วนอาจมอบหมายให้คนอื่นทำแทน ส่วนงานสำคัญแต่ไม่เร่งด่วนอาจทำในช่วงท้ายของวันหรือช่วงเวลา

ส่วนตัว ซึ่งเป็นแนวคิดที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ นำมาใช้


หลักเบื้องต้นในการบริหารเวลา มี 10 ข้อ

   1. การเริ่มต้นที่ดี มีความสำเร็จเกินกว่าครึ่งแล้ว เราคงจะเคยได้ยินว่าเริ่มต้นดีมีชัยไปกว่าครึ่ง ถ้าวันไหน  เราเริ่มต้นทำงานไปได้ด้วยดีก็ถือว่างานสำเร็จได้ไปเกินครึ่งแล้ว 

   2. ให้พิจารณาให้แน่นอนว่าอะไรที่สำคัญ เพื่อป้องกันไม่ให้ไปเสียเวลาในเรื่องที่ไม่สำคัญ ๆ จงเลือกทำ สิ่งที่สำคัญ ๆ ก่อน และบางครั้งเราก็ต้องกล้าที่จะปฏิเสธ ที่คนมาขอให้เราทำโน่นทำนี่ ทั้ง ๆ ที่มันอาจจะไม่เกิดประโยชน์ไม่สำคัญ ต้องกล้าปฏิเสธต้องใจแข็งปฏิเสธไป 

   3. ต้องมีการตั้งเป้าหมาย อาจจะมีทั้งเรื่องส่วนตัวเรื่องงาน กำหนดเวลาว่าในแต่ละสัปดาห์แต่ละเดือน แต่ละปีจะทำอะไรบ้าง

   4. กำหนดเกณฑ์ในการใช้เวลาในการทำกิจกรรมแต่ละอย่าง เช่น โทรศัพท์ รับแขก รับประทานอาหารประชุม ใช้เวลาประมาณเท่าไหร่ถ้าหากว่ามันจะเกินเวลาแล้วต้องหาวิธีการคุมให้อยู่ในเวลาที่เรากำหนด 

   5. การวางแผนประจำ กำหนดให้ชัดเจนในแต่ละวัน เราจะทำอะไรบ้าง จะต้องมีการจัดลำดับความสำคัญด้วย 

   6. ใช้ชีวิตอย่างสมดุล ข้อนี้เป็นเรื่องสำคัญต้องสมดุลทั้งเวลาทำงาน เวลาพักผ่อน นอนหลับ เวลาพักผ่อนหย่อนใจ เพื่อความบันเทิงรื่นรมย์ เพื่อสุนทรียในชีวิต 

   7. การจัดลำดับความสำคัญของงาน ต้องจัดให้ชัดเจนว่า อันไหนงานด่วน ด่วนมาก ด่วนปานกลาง ด่วนน้อย จัดลำดับให้ได้จะได้ไม่ต้องใช้เวลาในการทำอะไรให้มันมากเกินไป 

   8. ให้ลงมือทำงานที่ยากเสียก่อน พอเราทำงานที่ยากเสร็จมันจะเกิดกำลังใจจะช่วยให้เราทำงานที่ยากน้อยลงไปได้เสร็จรวดเร็วขึ้น 

   9. การมอบหมายงาน เป็นเรื่องที่ให้คนอื่นมาช่วยจะทำให้เรา มีเวลาไปทำงานอื่นที่สำคัญ ๆ เพิ่มมากขึ้น

   10. ทำงานให้สำเร็จเป็นชิ้นเป็นอัน ทำให้เราสามารถที่จะไปทำงานชิ้นอื่นได้เป็นชิ้น ๆ ไป เป็นการจัดลำดับงานที่เราจะทำให้ดียิ่งขึ้นไป


เคล็ดลับการตรงต่อเวลา


1. ตั้งเวลา และเชื่อนาฬิกาปลุกของคุณ
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ตั้งนาฬิกาปลุกล่วงหน้า แต่คุณก็ยังนอนต่อแม้ว่านาฬิกาปลุกจะส่งเสียงปลุกเมื่อถึงเวลา ด้วยความที่คุณรู้อยู่แล้วว่า คุณตั้งเวลาไว้ล่วงหน้า เพราะฉะนั้นยังพอมีเวลานอนต่อ กว่าจะถึงเวลาจริง นิสัยเช่นนี้แหละที่ทำให้คุณสายเสมอ ความมีวินัยเท่านั้นที่จะช่วยคุณได้ ดังนั้นคุณจึงควรตั้งนาฬิกาปลุกและเชื่อในนาฬิกาปลุกของคุณด้วย หากคุณมักจะสาย 10 นาทีเสมอ ควรตั้งนาฬิกาปลุกล่วงหน้า 10 นาที เพื่อตื่นให้เร็วขึ้น และไปถึงที่นัดหมายตรงตามเวลาของคนอื่น ๆ พอดี
2. รวมตารางนัดหมายเข้าไว้ในที่เดียวกัน
หากคุณแยกปฏิทินนัดหมายสำหรับเรื่องงาน กับเรื่องส่วนตัว และเรื่องครอบครัวออกจากกัน ให้รวมมันเข้าเป็นชุดเดียวกัน ซึ่งคุณจะเห็นตารางการนัดหมายทุก ๆ เรื่องของคุณอย่างชัดเจน และคุณจะไม่เผลอไปรับนัดซ้อนในเวลาเดียวกัน รวมทั้งยังเป็นการเตือนว่านัดครั้งต่อไปของคุณใกล้จะมาถึงแล้ว จะได้เตรียมตัวให้พร้อมและไปถึงตรงเวลา
นอกจากนี้ คุณควรจะใช้ปฏิทินในโทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์ของคุณให้เป็นประโยชน์ เพราะว่าปฏิทินอิเล็กทรอนิกส์พวกนี้จะช่วยเตือนการนัดหมายของคุณได้อย่างดีเยี่ยม
3. วางแผนนับถอยหลัง
หากคุณมีนัดเวลา 14.00 น. ให้บันทึกเวลานัดหมายในปฏิทิน จากนั้นเว้นว่างไว้ 3 - 4 บรรทัด เพื่อให้คุณได้นับถอยหลัง เผื่อเวลาสำหรับการเดินทาง เช่น คุณอาจต้องออกเดินทางตั้งแต่บ่ายโมงตรง จะได้ไปถึงก่อนเวลาและมีเวลาเตรียมตัวสัก 15 นาที ดังนั้นในช่องว่างของคุณจะบันทึกลงไปว่า 13.45 น. ถึงที่นัดหมาย 13.00 น. ออกเดินทาง 12.45 น. เตรียมเอกสาร เป็นต้น
     ในกรณีที่คุณมีนัดเวลาเช้าตรู่ คุณควรเตรียมเอกสาร สิ่งของจำเป็นทุกอย่างให้พร้อมตั้งแต่ก่อนเข้านอน เลือกเสื้อผ้าที่จะใช้ และรีดเตรียมไว้ให้เรียบร้อย เมื่อตื่นเช้าขึ้นมา คุณจะสามารถแต่งตัว และออกจากบ้านได้อย่างรวดเร็ว
4. ให้รางวัลกับความสำเร็จของตนเอง
เมื่อคุณสามารถไปตามนัดหมายได้ตรงเวลา คุณควรให้รางวัลตนเองด้วยการทำสิ่งที่ชอบ เช่น ทานอาหารที่ร้านอร่อย หรือซื้อของที่อยากได้ เพื่อเป็นกำลังใจในการเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปอีก
5. เพื่อนคืออีกหนึ่งตัวช่วยสำคัญ
บางการนัดหมายที่สำคัญมากๆ คุณอาจให้เพื่อนที่คุณวางใจได้ ช่วยเหลือคุณด้วยการโทรปลุกคุณแต่เช้า ให้คุณสามารถอาบน้ำแต่งตัวออกจากบ้านไปถึงที่หมายทันเวลา และเมื่อเพื่อนได้ช่วยเหลือคุณไว้อย่าลืมตอบแทนเพื่อนของคุณด้วย
หากคุณได้ทำตามเคล็ดลับทั้ง 6 ข้อนี้แล้วแต่ยังไม่สามารถไปตรงเวลาได้ทุกครั้ง ขอให้คุณหมั่นฝึกตนเองอย่างต่อเนื่อง อย่าเพิ่งถอดใจ เพราะอย่างน้อยก็ถือว่าคุณได้เริ่มต้นที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ดีขึ้นแล้ว

โมเดลการตรงต่อเวลา





ลักษณะนิสัยการตรงต่อเวลา

  • คนที่ไม่ตรงต่อเวลา
    • ชอบผัดเวลา
    • ขาดการวางแผน หรือเตรียมการล่วงหน้า
    • ขาดวินัยในตัวเอง
    • ประมาท เห็นว่ามีเวลาเหลือ
    • ขาดสมาธิ จิตขาดการจดจ่อต่องาน
  • คนตรงต่อเวลา
    • มีความกระตือรือร้น ไม่ผัดวันเวลา
    • มีการวางแผน เตรียมพร้อมอยู่เสมอ
    • มีวินัยในตัวเอง
    • ไม่ประมาทและไม่ทำอะไรจับจด
    • มีสมาธิจดจ่อต่องานทีทำ

ประโยชน์ของการตรงต่อเวลา

     1. ทำให้เรามีนิสัยขยันขันแข็ง เอาการเอางานอย่างจริงจัง
     2. ฝึกให้เราเป็นคนกระตือรือร้น มีชีวิตชีวา
     3. ทำให้เรามีความซื่อตรงต่อตัวเอง รักษาเกียรติยศของตนเอง
     4. ทำให้เราทำงานได้สะดวก รวดเร็ว เรียบร้อยและมีผลดี
     5. หน้าที่การงานประสบความสำเร็จ ชีวิตก้าวหน้า
     6. สามารถกำหนดกิจกรรมต่างๆ ที่เราจะกระทำได้ในแต่ละวันทำให้ชีวิตมีระเบียบ และมีวินัยกับตนเอง
     7. เป็นที่เชื่อถือ และไว้ใจของคนอื่น


โทษของการไม่ตรงต่อเวลา

     1. กลายเป็นคนเกียจคร้าน คอยหาสาเหตุหลีกเลี่ยงงาน
     2. เป็นคนผลัดวันประกันพรุ่ง
     3. กิจกรรมหรือการงาน และชีวิตยุ่งเหยิง ไม่เป็นระเบียบ
     4. กลายเป็นคนไม่ซื่อตรงต่อตนเอง
     5. ทำให้ผิดนัด  กิจกรรมหรืองานเกิดความเสียหาย
     6. ไม่เป็นที่เชื่อถือของคนอื่น


ผลที่ได้จากการต่อตรงเวลา

1.  ทำให้เราเป็นที่ไว้วางใจ และเป็นที่น่าเชื่อถือของบุคคลอื่น
2.   ทำให้งานที่ได้รับมอบหมายเสร็จตรงตามเวลา
      3.  ทำให้รู้จักแบ่งเวลาให้เหมาะสมกับกิจกรรมต่างๆ เป็นการจัดระเบียบให้กับชีวิต
      4.   ทำให้เราสามารถจัดการกับชีวิตของเราได้อย่างราบรื่นและมีความสุข

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น